แบตเตอรี่ลิเทียมคืออะไร การใช้งานแบ่งเป็นกี่ประเภท

345

แบตเตอรี่ลิเทียม (Lithium Battery) หรือชื่อเรียกเต็ม ๆ ก็คือ แบตเตอรี่ลิเทียมไออน (Lithium Ion Battery)เป็นแบตเตอรี่ที่ปัจจุบันนิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแบตฯ คุณภาพสูง สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้ ยังมีการจ่ายไฟที่แรง มีความเสถียรคงที่ ถึงแม้ไฟกำลังอ่อน หรือใกล้จะหมด นอกจากนี้ยังการชาร์จไฟจนเต็มความจุ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่าแบตฯ ประเภทอื่น และมีอายุใช้งานที่ยาวนานกว่าโดยมีอายุประมาณ 1.0-1.5 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน และการดูแลรักษา โดยอุปกรณ์ที่นิยมนำแบตฯ ชนิดนี้มาใช้ก็อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค กล้องถ่ายรูป เพาเวอร์แบงค์ หรือของใหญ่ ๆ อย่างรถยนต์ หรือดาวเทียมก็ใช้แบตเตอรี่ประเภทนี้ทั้งสิ้น

แบตเตอรี่ลิเทียม

แบตเตอรี่ลิเทียมทั้งหมดมีอยู่ 6 ชนิด

  1. โคบอลต์ออกไซด์ (Lithium Cobalt Oxide : LCO)

ข้อดี: ของแบตลิเทียมประเภทนี้คือให้พลังงานแบบจำเพาะสูง หากใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟไม่มากจะสามารถจ่ายไฟได้นาน

ข้อด้อย: ก็คือมีอายุการใช้งานที่สั้น ทนความร้อนได้ไม่มากจึงน่าเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยอยู่บ้าง และวัตถุดิบยังมีราคาค่อนข้างสูง

แบตฯ ประเภทนี้จึงเหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์เช่น โทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป และกล้อง เป็นต้น เพราะใช้ไฟไม่สูงมาก

  1. แมงกานิสออกไซด์ (Lithium Manganese Oxide : LMO)

ข้อดี: ของแมงกานิสออกไซด์ สามารถชาร์จเต็มเร็ว จ่ายกระแสไฟได้สูง ให้ค่าพลังจำเพาะสูงกว่า และมีขนาดเล็กกว่าโคบอลต์ออกไซด์

จุดด้อย: คือในบรรดาแบตเตอรี่ลิเที่ยม แบตฯ ประเภทนี้มีอายุการใช้งานสั้นที่สุด

การใช้งานมักจะนำไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้าเช่น อุปกรณ์การแพทย์ ยานพาหนะไฟฟ้า เป็นต้น

  1. นิเคิลแมงกานิสโคบอลต์ออกไซด์ (Lithium Nikel Manganese Cobalt Oxide:NMC)

ข้อดี: ของนิเคิลแมงกานิสโคบอลต์ออกไซด์ คือสามารถจ่ายกระแสไฟได้แรงเป็นอย่างมาก มีค่าพลังงานจำเพาะสูง ชาร์จเต็มเร็ว มีความปลอดภัย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ข้อด้อย: ก็คือมีแรงดันไฟฟ้าต่อเซลล์ต่ำ (ต่ำกว่า LCO เล็กน้อย)

การใช้งานมักจะใช้กับยานพาหนะไฟฟ้า ระบบสำรองไฟฟ้า และอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น

4. ฟอสเฟต (Lithium Ion Phosphate : LFP)

ข้อดี: ของแบตฯประเภทนี้มีอายุการใช้งานที่นาน ทนความร้อนได้ดี มีความปลอดภัย

ข้อด้อย: ค่าพลังงานจำเพาะไม่สูงหากใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำประสิทธิภาพจะลดลง จึงไม่เหมาะกับการใช้งานแบบกระแสกระชากสูงๆ เช่น การสตาร์ทเครื่องยนต์

การใช้งานส่วนใหญ่มักจะใช้งานกับระบบที่ต้องการกระแส และความทนทานสูง

  1. แบตเตอรี่ลิเที่ยม นิเคิลโคบอลต์อะลูมิเนียมออกไซด์ (Lithium Nikel Cobalt Aluminum Oxide : NCA)

ข้อดี: มีค่าพลังงานจำเพาะสูงจ่าย กระแสได้มาก ชาร์จเต็มเร็ว ใช้งานได้นาน

ข้อด้อย: มีความปลอดภัยต่ำกว่าชนิดอื่น ราคาค่อนข้างสูง

การใช้งานคล้าย ๆ กับ NMC คือนิยมใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ และระบบสายส่งไฟฟ้าและการสำรองพลังงานไฟฟ้า

  1. ไททาเนต (Lithium Titanate : LTO)

ข้อดี: ชาร์จเร็ว การใช้งาน มีช่วงอุณหภูมิใช้งานที่กว้าง อายุการใช้งานยาวนานมีระดับความปลอดภัย และความเสถียรสูงที่สุด

ข้อด้อย: ค่อนข้าง มีค่าพลังงานจำเพาะต่ำ มีขนาดใหญ่ ราคาสูง

ใช้งานกับยานพาหนะไฟฟ้า และจักรยาน โดยเฉพาะในรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ

ทั้งหมดนี้คือประเภทของแบตเตอรี่ลิเที่ยมหากไม่ชำนาญ หรือคุ้นเคยอาจจะแยกการใช้งานได้ยาก หากจะซื้อก็ควรต้องดูให้แน่ชัด ศึกษารายละเอียดให้ดี เพื่อให้ได้แบตเตอรี่ตรงตามวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับอุปกรณ์ของตัวเอง