วันลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีขึ้นในทุก ๆ ปีโดยจะตรงกับคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 โดยสิ่งที่ปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณก็คือโดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปแบบต่าง ๆ ลำนำไปลอยน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดอกบัว เรือ แพ และกระทง เป็นต้น
การทำเช่นนี้ก็มาจากความเชื่อโบราณก็มีที่มาหลากหลายตำนานไม่ว่าจะเป็น การบูชาพระพุทธบาท, การบูชาเทพในศาสนาพราหมณ์, ความเชื่อการสร้างเจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราช, การลอยความเชื่อตามแบบล้านนา หรือจะเป็นความเชื่อเพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา การระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วยซึ่งประเพณีลอยกระทงไม่ได้มีแต่ประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีประเพณีนี้เช่นกันแต่ก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปบ้าง ด้านความเชื่อ และพิธีกรรม
กิจกรรมในวันลอยกระทงในปัจจุบัน
ในปัจจุบันกิจกรรมวันลอยกระทงที่มักจะทำกันก็อย่างเช่น การประกวดกระทงทั้งเล็ก, การประกวดนางนพมาศ, ประกวดโคมลอย, การทำบุญให้ทาน, การเข้าวัดปฏิบัติธรรมฟังเทศน์, การทำความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง, การประดิษฐ์กระทงแล้วนำไปลอย, การปล่อยโคมลอย, การจุดพลุเล่นไฟ, การมีงานรื่นเริงต่าง ๆ ที่ท้องถิ่นไปผู้จัด หรือหากเป็นทางเหนือก็จะมีการประดับหน้าบ้านด้วยโคม จุดเทียน การสร้างซุ้มประตูป่าเป็นต้น
กิจกรรมในประเพณีลอยกระทงบางอย่างที่ไม่ควรเกิดขึ้น
แน่นอนว่ามีบางอย่างในประเพณีลอยกระทงที่เปลี่ยนไป และไม่น่าเกิดขึ้นเช่นการเล่นดอกไม้ไฟ ประทัด การจุดพลุ ที่ค่อนข้างจะคึกคะนองโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่เล่นไม่เป็นที่เป็นทางส่งผลให้เกิดอันตราย และทรัพย์สินจนเกิดเพลิงไหม้ได้ หรือการมีค่านิยมผิด ๆ เช่นการได้เสียกันในวันลอยกระทง
การปล่อยโคมในช่วงเวลาที่ไม่อนุญาต ที่เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุทางอากาศ การใช้วัสดุที่ย่อยสลายยากมาทำกระทงเช่นโฟม พลาสติก แทนการใช้ วัสดุพื้นบ้านหรือ ตามธรรมชาติ เช่น ทำจากใบตอง หยวกกล้วย ที่เป็นสาเหตุของน้ำเน่าเสี ความเชื่อเรื่องการนำเงินใส่ลงไปในกระทง ทำให้คนลงไปงมแล้วจมน้ำ เป็นต้น
เมื่อเห็นถึงความเป็นมา และกิจกรรมต่าง ๆ ถือว่าวันลอยกระทง เป็นประเพณีแห่งความสุข สนุกสนาน แต่อย่างไรก็ตามก็ควรจะนึกถึงแก่นแท้ของประเพณีเอาไว้ และปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาความสวยงามเอาไว้ให้ยาวนานสืบต่อไป ชั่วลูกชั่วหลาน