ประเทศไทยเรานั้น ธงไตรรงค์ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยมานานกว่า 100 ปี โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 จะครบรอบทุกวันที่ 28 กันยายน ของทุกปี
ก่อนที่จะเป็น ธงไตรงค์ ต้องย้อนไปในสมัยที่ยังเป็นประเทศสยามได้ทำการค้าทางเรือกับประเทศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีธงประจำชาติของตัวเองเพื่อเป็นสัญลักษณ์เพื่อบอกว่าเป็นเรือสินค้า โดยไทยได้ใช้ธงของฮอลแลนด์เพราะจำได้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่เมื่อฮอลแลนด์มีปัญหากับฝรั่งเศส ไทยจึงใช้ธงพื้นสีแดงเป็นสัญลักษณ์แทน
จนมาถึงในรัชกาลที่ 1 จึงได้เพิ่มสีขาวลงไป เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกว่าเป็นเรือของหลวง จนในรัชกาลที่ 2 จึงมีการเพิ่มรูปช้างเข้าไปวงจักรของเรือ ได้ช้างเผือกมาสู่พระบารมีมากถึง 3 เชือกในส่วนของเรือสินค้าทั่วไปยังยังคงใช้ธงสีแดงเป็นสัญลักษณ์
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีรูปช้างเผือกลงบนกลางธงแดง ที่เรียกว่า ธงช้างเผือก เพื่อให้ใช้เป็นธงชาติไทย
กำเนิดธงไตรรงค์
ในรัชกาลที่ 6 คราวเสด็จประพาสเมืองอุทัยธานี ราษฎรที่นำธงมาเฝ้ารับเสด็จ ด้วยความรีบร้อนทำธงจึงมีความผิดเพี้ยน เช่นช้างนอนหงายเอาขาชี้ฟ้า ทำให้รู้สึกสร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ในสิ่งพิมพ์ต่างประเทศยังวาดรูปธงที่มีทั้งช้างเผือกหันหน้าเข้าเสา และหันหลังเข้าเสาก็มีทำให้รัชกาลที่ 6 มีพระราชดำริให้เปลี่ยนมาใช้ธงริ้วสลับสีขาวแดง 5 แถบ ซึ่งสามารถผลิตได้ง่าย และจำได้ง่ายกว่ามีผู้ใช้นามแฝงว่า “อะแควเรียส”
ธงมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ มีผู้ใช้นามแฝงว่า “อะแควเรียส” ได้แสดงความคิดเห็นผ่านบทความลงใน หนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ว่าธงควรเพิ่มสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 6 เข้าไป ประจวบกับและเมื่อไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้รับสั่งว่า การเปลี่ยนแบบธงชาติก็จะได้เป็นเกียรติ และระลึกถึงการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของทหารสยาม ในส่วนของการออกแบบรัชกาลที่ 6 โปรดให้พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นผู้ออกแบบ นับแต่นั้น ธงไตรรงค์ จึงถูกนำมาใช้เป็นธงชาติจนถึงทุกปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า ธงไตรรงค์ นั้นมีที่มาที่ไปมากมายหลายอย่าง ซึ่งเชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้ความเป็นมาเหล่านี้ ซึ่งเชื่อว่าหากได้รู้ และศึกษาก็จะรับรู้ถึงประวัติศาสตร์เรื่องราวมากมายซ่อนอยู่ให้รู้สึกภูมิใจในความเป็นไทยอย่างแน่นอน